รอยยิ้มที่เปลี่ยนไปของ “น้องน้ำขิง”
เรื่อง / ภาพ : คุณกัลยา ดอกบัว
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2566 เจ้าหน้าที่โครงการ ซี.ซี.เอฟ. ฯ ลงพื้นที่เยี่ยมครอบครัวของน้องน้ำขิง จ.อำนาจเจริญ เด็กในโครงการกองบุญชีวิต กู้วิกฤติเด็กยากไร้ ที่ได้รับสนับสนุนการซ่อมสร้างบ้านและได้รับทุนโครงการอาหารในครัวเรือน วันนี้ดิฉันขอเป็นตัวแทนบอกเล่าความรู้สึกในการลงไปติดตามผลและพูดคุยกับน้องน้ำขิงในครั้งนี้
“ดิฉันเองรู้สึกมีความสุขมาก ๆ และอยากเล่าความรู้สึกทั้งหมดให้ทุกคนฟังว่า หลังจากที่น้องน้ำขิงได้รับความช่วยเหลือสร้างบ้านใหม่ มีที่พักหลับนอนปลอดภัยสำหรับเด็ก ๆ และคนในบ้านไม่ต้องคอยย้ายที่นอนเวลาฝนตกเพราะหลังคารั่วแล้ว”
วันนี้เราได้เจอกับน้องน้ำขิงอีกครั้ง รู้สึกตื้นตันใจมากที่ได้เห็นสมาชิกในครอบครัวอยู่ด้วยกัน เด็ก ๆ วิ่งเล่นหยอกล้อกันในบ้าน เห็นรอยยิ้มของปู่ย่าที่ไม่ต้องกังวลเรื่องที่จะไม่มีที่ซุกหัวนอนให้กับหลานๆ และหลังจากที่ครอบครัวของน้องได้รับความช่วยเหลือเรื่องระบบน้ำ ทำให้เห็นความเปลี่ยนแปลงของครอบครัวมากยิ่งขึ้น ในวันที่เจาะน้ำบาลดาล แล้วพบว่ามีน้ำออกมาตามที่ทุกคนหวัง ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ตื่นเต้นกันมากเลยค่ะ เด็ก ๆ ร้องรำทำเพลงด้วยความดีใจ ย่าก็ร้องไห้เพราะไม่เคยคาดหวังว่าจะมีวันนี้ ปู่กับย่าเล่าให้ฟังว่า เมื่อตอนที่เห็นน้ำไหลออกมาจากท่อ ท่านก็คิดทันทีว่าอยากทำเกษตร เพาะปลูกผักสวนครัวง่าย ๆ ในเรื่องของการสร้างแหล่งอาหารให้ครอบครัวและการสร้างรายได้
ตอนนี้ครอบครัวของน้องน้ำขิง ได้จัดสรรที่นาส่วนหนึ่งประมาณ 100 ตารางวา มาเป็นพื้นที่เกษตรพอเพียง เลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ และพื้นที่รอบๆบ้านได้ปลูกพริก มะเขือ ผักสวนครัวหลากหลายชนิด และมะละกออีกกว่า 100 ต้น และยังแบ่งพื้นที่ที่เหลือปลูกแตงกวา ถั่วฝักยาว ข้าวโพด ซึ่งหากได้รับผลผลิตคงมีอาหารกินเพียงพอ และก็อาจจะเป็นรายได้เสริมให้ครอบครัว เพื่อให้เด็ก ๆ มีเงินไปโรงเรียนเพิ่มขึ้นอีก
ทุกวันตอนเช้าตรู่ปู่และย่าจะช่วยกันดูแลพืชผักสวนครัว ตอนกลางคืนก็จะช่วยกันจับหนอนที่มากินพืชผัก เพราะไม่ได้ใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลง เด็ก ๆ ทุกคนในบ้านแบ่งงานกันทำตามกำลังของตนเอง น้องน้ำขิงก็มีแปลงผักสวนครัวของตนเอง คือ แปลงมะเขือเทศ และจะรดน้ำตอนเช้าทุกวันเช่นกัน หลังเลิกเรียนเด็ก ๆ จะมีกิจกรรมทำงานบ้าน ส่วนตอนกลางคืนบางครั้งได้จับแมลงจิ้งหรีด หรือกุ๊ดจี่ มาเป็นอาหาร ในวันหยุดก็จะไปหาหอย หาหน่อไม้ หาปลา มาพอเป็นอาหารให้กับครอบครัว
ตอนนี้ครอบครัวของน้องน้ำขิง ได้จัดสรรที่นาส่วนหนึ่งประมาณ 100 ตารางวา มาเป็นพื้นที่เกษตรพอเพียง เลี้ยงปลาดุกในบ่อซีเมนต์ และพื้นที่รอบๆบ้านได้ปลูกพริก มะเขือ ผักสวนครัวหลากหลายชนิด และมะละกออีกกว่า 100 ต้น และยังแบ่งพื้นที่ที่เหลือปลูกแตงกวา ถั่วฝักยาว ข้าวโพด ซึ่งหากได้รับผลผลิตคงมีอาหารกินเพียงพอ และก็อาจจะเป็นรายได้เสริมให้ครอบครัว เพื่อให้เด็ก ๆ มีเงินไปโรงเรียนเพิ่มขึ้นอีก
ทุกวันตอนเช้าตรู่ปู่และย่าจะช่วยกันดูแลพืชผักสวนครัว ตอนกลางคืนก็จะช่วยกันจับหนอนที่มากินพืชผัก เพราะไม่ได้ใช้สารเคมีหรือยาฆ่าแมลง เด็ก ๆ ทุกคนในบ้านแบ่งงานกันทำตามกำลังของตนเอง น้องน้ำขิงก็มีแปลงผักสวนครัวของตนเอง คือ แปลงมะเขือเทศ และจะรดน้ำตอนเช้าทุกวันเช่นกัน หลังเลิกเรียนเด็ก ๆ จะมีกิจกรรมทำงานบ้าน ส่วนตอนกลางคืนบางครั้งได้จับแมลงจิ้งหรีด หรือกุ๊ดจี่ มาเป็นอาหาร ในวันหยุดก็จะไปหาหอย หาหน่อไม้ หาปลา มาพอเป็นอาหารให้กับครอบครัว
“ชีวิตที่เคยดิ้นรนอย่างหนัก มีความเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น” ทุกคนยังคงดิ้นรนแต่ใบหน้ากลับมีรอยยิ้มและมีความสุขมากขึ้น ปู่มีแผนจะทำกระชังปลาเลี้ยงเพิ่มเติม ส่วนย่าก็มีแผนจะปลูกถั่วลิสงเพิ่ม ครอบครัวของน้ำขิงบอกว่า ถ้าผลผลิตออกมา อยากส่งไปให้มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. ฯ และอยากส่งให้ผู้อุปการะได้ชิมบ้าง เพราะในวันที่ครอบครัวแทบไม่มีอาหาร ไม่มีที่นอน หากไม่ได้รับความช่วยเหลือในวันนั้นน้องน้ำขิงคงไม่มีความสุขและไม่รู้ว่าจะชีวิตในตอนนี้จะเป็นอย่างไร ดิฉันเองก็เป็นสุข ทีมงานทุกคนของมูลนิธิ ฯ ก็มีความสุขที่ได้เห็นครอบครัวของน้องน้ำขิงยิ้มได้ เป็นรอยยิ้มที่เปลี่ยนไปแล้วจริง ๆ ขอบคุณทีมงานที่ทำงานอย่างเต็มกำลังเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นของเด็ก ๆ นะคะ
ข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.ccfthai.or.th