นโยบายการคุ้มครองเด็ก

การให้ความสำคัญการคุ้มครองเด็กและเยาวชน ของ มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชน ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชากุมารี

มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ.เพื่อเด็กและเยาวชน ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ซึ่งต่อไปนี้เรียกว่า “มูลนิธิฯ”ตระหนักและให้ความสำคัญกับการป้องกันคุ้มครองเด็กและเยาวชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรณีการแสวงประโยชน์และล่วงละเมิดทางเพศ โดยมีนโยบายเป้าหมายในการป้องกัน ตรวจจับ รายงาน การล่วงละเมิดใดๆ ที่มีต่อเด็กและเยาวชน

การให้ความสำคัญการคุ้มครองเด็กและเยาวชนนี้ครอบคลุมถึงการป้องกันการละเลย การใช้ความรุนแรงและพฤติกรรมมิชอบ ที่อาจเกิดขึ้นกับผู้เข้าร่วมโครงการด้วย มูลนิธิฯ มุ่งสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยและเชื่อถือได้สำหรับทุกคนที่เกี่ยวข้อง โดยมีรายละเอียดดังนี้

ข้อ 1. มูลนิธิฯ ต่อต้านการแสวงประโยชน์และการล่วงละเมิดทางเพศ การละเลย และการทำร้าย การใช้ความรุนแรงและพฤติกรรมมิชอบทุกรูปแบบที่เกิดขึ้นกับผู้เข้าร่วมโครงการทุกคน 

ข้อ 2. การปฏิบัตินี้ถือเป็นข้อบังคับสำหรับเจ้าหน้าที่ ภาคีเครือข่าย สมาชิกคณะกรรมการผู้บริหารหรือผู้ดูแลผลประโยชน์ ที่ปรึกษา ผู้จำหน่าย ผู้ฝึกงาน อาสาสมัครผู้เยี่ยมชมโครงการ สื่อมวลชน และตัวแทนอื่นๆ ทั้งหมดที่ทำหน้าที่เพื่อและในนามของมูลนิธิฯ 

ข้อ 3. มูลนิธิฯ ได้กำหนดความคาดหวังหรือมาตรฐานด้านพฤติกรรมที่ชัดเจนสำหรับเจ้าหน้าที่และตัวแทน เพื่อให้มั่นใจว่าความประพฤติสวนบุคคลและทางวิชาชีพของพวกเขานั้นมีมาตรฐานสูงสุดเสมอ 

ข้อ 4. เพื่อให้เข้าใจว่าการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้เข้าร่วมโครงการในภารกิจของมูลนิธิฯ ไม่ว่าจะเมื่อใด ที่ไหน และอย่างไร เราจะดำเนินการประเมินความเสี่ยงของการปกป้องคุ้มครองในโครงการและการปฏิบัติการทั้งหมดเป็นครั้งคราว เพื่อให้มีความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับปัญหาของการปกป้องคุ้มครองในสภาพแวดล้อมที่หลากหลายที่เราดำเนินงานในฐานะที่เป็นรากฐานแนวทางปฏิบัติในการปกป้องคุ้มครองของเรา 

 ข้อ 5. เจ้าหน้าที่โครงการ และการดำเนินงานของมูลนิธิฯ จะต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้เข้าร่วมโครงการ ชุมชน เจ้าหน้าที่ และตัวแทนซึ่งทุกคนจะได้รับการปกป้องคุ้มครองอย่างเท่าเทียมกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพวกเขามีความเสี่ยงหรือเสี่ยงต่อการเกิดอันตราย 

 ข้อ 6. มูลนิธิฯ มุ่งมั่นที่จะวางระบบและขั้นตอนที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันและปกป้องคุ้มครองผู้เข้าร่วมโครงการจากอันตรายหรือการล่วงละเมิด กระบวนการที่มาพร้อมกับนโยบายนี้ให้รายละเอียดมาตรการที่ครอบคลุมในการเผยแพร่และการรับรู้ การนำไปปรับใช้ แนวทางการประพฤติตัว การประเมินความเสี่ยง การสรรหาบุคคล การตรวจสอบประวัติภูมิหลัง โปรแกรม/โครงการ การฝีกอบรมและการเรียนรู้ภาคบังคับ การเยี่ยมชมโครงการ ภาคีเครือข่าย การจัดซื้อจัดจ้าง การสื่อสาร การจัดการ การสร้างสัมพันธ์กับผู้สนับสนุน การมีสวนร่วมของเด็ก วัฒนธรรม และการดำเนินงานทั่วไป เป็นต้น

ข้อ 7. มูลนิธิฯ มุ่งมั่นในการอบรมเรื่องการปกป้องคุ้มครองและสร้างความตระหนักอย่างจริงจังให้กับเจ้าหน้าที่ ตัวแทน และผู้เข้าร่วมโครงการทุกคนเพื่อให้สามารถรับรู้ถึงสัญญาณ และการแสดงออกต่าง ๆ ของการล่วงละเมิดหรืออันตรายที่อาจเกิดขึ้นเพื่อการปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสม 

ข้อ 8. เจ้าหน้าที่และตัวแทนของมูลนิธิฯ ทุกคนจำเป็นต้องรายงานข้อกังวลที่เกี่ยวกับการปกป้องคุ้มครอง(ทั้งที่ถูกกล่าวหาหรือเกิดขึ้นจริง) ที่เกี่ยวข้องกับผู้เข้าร่วมโครงการหรือการละเมิดนโยบายและระเบียบปฏิบัติด้านพฤติกรรมนี้ โดยจะต้องรายงานภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากได้แจ้งหรือได้รับแจ้งข้อกังวล 

ข้อ 9. มูลนิธิฯ เน้นให้บุคคลที่เป็นผู้เสียหายจากเหตุการณ์เป็นศูนย์กลางในการได้รับความช่วยเหลือจากการแสวงผลประโยชน์ทางเพศ การล่วงละเมิด การละเลย และรูปแบบอื่น ๆ ทั้งหมดของการทำร้าย ในขณะเดียวกันต้องให้ความมั่นใจว่าผู้เสียหายจากเหตุการณ์จะได้รับการดูแลและสนับสนุนที่ดีที่สุด

ข้อ 10. มูลนิธิฯ มุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้มีวัฒนธรรมการสนทนาแบบเปิดกว้างและให้มีความรับผิดชอบร่วมกันเพื่อความปลอดภัยและความเป็นอยู่ที่ดีของเจ้าหน้าที่ ตัวแทน ผู้เข้าร่วมโครงการ และชุมชน 

ข้อ 11. กระบวนการหรือคำแนะนำเกี่ยวกับวิธีการสมัครและดำเนินการตามนโยบายนี้เพื่อให้การปกป้องคุ้มครองได้รับการบูรณาการและนำมาปฏิบัติในชีวิตประจำวันเปรียบเสมือนเป็นวัฒนธรรมของมูลนิธิฯ

ข้อ 12. มูลนิธิฯ จะดำเนินการตรวจสอบการบริหารและการจัดการในเวลาที่เหมาะสมของทุกกรณี ข้อกล่าวหาหรือเหตุการณ์การปกป้องคุ้มครองที่เกิดขึ้นอย่างสุดวิสัยซึ่งรวมถึงการพัฒนาแผนและจัดการปัญหาในแต่ละรายผ่านการอ้างอิง การติดตาม และการปิดข้อกังวลกรณีทั้งหมดในเวลาที่เหมาะสม 

ข้อ 13. การรักษาความลับเป็นหลักการสำคัญยิ่งที่จะต้องยึดถือในขณะที่ดำเนินการตรวจสอบการล่วงละเมิดที่ถูกกล่าวหา อ้างอิงจากข้อมูลที่ได้จากการติดต่อสื่อสารทั้งหมดกับสื่อโซเชียลมีเดียและการสอบสวนทางคดี

ข้อ 14. การตรวจสอบของมูลนิธิฯ จะต้องทำตามขั้นตอนเหล่านี้ เช่น ได้รับข้อกล่าวหา การตัดสินใจหาวิธีการจัดการ แต่งตั้งทีมสอบสวน วางแผนการสอบสวน และประเมินความเสี่ยง รวบรวมเอกสารหลักฐานและศึกษาภูมิหลัง ปรับแผนการสอบสวนและร่างคำถามให้เป็นปัจจุบัน สัมภาษณ์พยาน เขียนรายงานผลการสอบสวน สรุปผลการสอบสวนและส่งรายงานให้แก่ผู้บริหาร เพื่อพิจารณาดำเนินการต่อไป